เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] 5. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
แม้ครั้งที่ 2 ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุสุธรรมนี้ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับ
ตัวได้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม สงฆ์ระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรมแล้ว
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ 3 ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุสุธรรมนี้ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับ
ตัวได้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม สงฆ์ระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ปฏิสารณียกรรม สงฆ์ระงับแล้วแก่พระสุธรรม สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ปฏิสารณียกรรมที่ 4 จบ

5. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
เรื่องภิกษุพระฉันนะ
[46] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขต
กรุงโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติ1
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุชื่อ
ฉันนะต้องอาบัติแล้ว จึงไม่ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติเล่า” แล้วนำเรื่องนี้ไป กราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
1 คือจะไม่ยอมรับว่าเป็นอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :85 }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] 5. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุฉันนะต้องอาบัติแล้วไม่
ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติ จริงหรือ”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำเช่นนั้น
ไม่สมควร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษนั้น ต้องอาบัติแล้ว จึงไม่ปรารถนา
จะเห็นว่าเป็นอาบัติเล่า การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ครั้น
ทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุฉันนะเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
ห้ามสมโภค1กับสงฆ์

วิธีลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงอุกเขปนียกรรมอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงโจทภิกษุชื่อ
ฉันนะ ครั้นแล้วให้ภิกษุฉันนะให้การแล้วจึงปรับอาบัติ ครั้นปรับอาบัติแล้วภิกษุ
ผู้ฉลาด สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[47] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้วไม่
ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุชื่อฉันนะ
เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนา
จะเห็นว่าเป็นอาบัติ สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุฉันนะเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่านรูปใดเห้นด้วยกับการลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุฉันนะ

เชิงอรรถ :
1 สมโภค หมายถึงการคบหากันและการให้หรือรับอามิส กินร่วมกัน อยู่ร่วมกัน นอนร่วมกัน (สารตฺถ.
ฏีกา 3/130/324-325)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :86 }